สืบเนื่องมาจากภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนั้นเป็นภูมิภาคที่ลุ่มรวยไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ อันเป็นการส่งเสริมให้ศักยภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ได้ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นต่อประเทศที่ร่วมระบบแม่น้ำเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินชีวิตภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) และกระแสของการบูรณาการระหว่างประเทศ (Integration) ได้กลายมาเป็นกระแสหลักของเวทีโลก การพัฒนาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจึงไม่อาจที่จะเป็นการพัฒนาแบบโดดเดี่ยวของแต่ละประเทศอีกต่อไป ความร่วมมือ (cooperation) ทางการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นแนวทางที่สำคัญในการสร้างให้ประชาคมภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้ร่วมกันจัดสรรและแลกเปลี่ยนทรัพยากรของภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้หลักการของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี (Good Neighbors) อย่างไรก็ตามท่ามกลางการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชากรในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ การเกิดขึ้นของปัญหาต่างๆ อย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหามลภาวะ ปัญหาสังคมและวัฒนธรรม
ในปีที่ผ่านมาโครงการวิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัจจัยด้านการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อระบบบริการทางสุขภาพและภาวะสุขภาพของประชากรในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นการพัฒนาที่อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ศึกษาผ่านตัวแบบทางการพัฒนาอย่างรอบด้าน นำผลการศึกษามาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ครอบคลุมในทุกมิติ
สำหรับการดำเนินการวิจัยต่อยอดครั้งนี้ คณะผู้วิจัยมุ่งเน้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ในปีที่ผ่านมา ด้วยการสร้างระบบการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการใช้ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับเว็บไซต์ โดยประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละประเทศได้ และเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมภายใน (จุดแข็งและจุดอ่อน) และสภาพแวดล้อมภายนอก (โอกาสและอุปสรรค) เพื่อสร้างแนวนโยบายเรื่องการคิดริเริ่มเรื่องการจัดการในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านการค้าการลงทุน ทัศนคติต่อสังคมและค่านิยมทางวัฒนธรรม สารสนเทศทางการแพทย์และเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมที่ทำงานและที่อยู่อาศัย ที่ส่งผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพและภาวะสุขภาพของประชาชน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พร้อมทั้งเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกด้าน
2 เพื่อศึกษาแนวโน้มของการพัฒนาระบบบริการทางสุขภาพและภาวะสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
3 เพื่อนำผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ไปจัดทำฐานข้อมูลสำหรับใช้ประโยชน์ในการจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขงต่อไปในอนาคต
สืบเนื่องมาจากภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนั้นเป็นภูมิภาคที่ลุ่มรวยไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ อันเป็นการส่งเสริมให้ศักยภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ได้ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นต่อประเทศที่ร่วมระบบแม่น้ำเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินชีวิตภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) และกระแสของการบูรณาการระหว่างประเทศ (Integration) ได้กลายมาเป็นกระแสหลักของเวทีโลก การพัฒนาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจึงไม่อาจที่จะเป็นการพัฒนาแบบโดดเดี่ยวของแต่ละประเทศอีกต่อไป ความร่วมมือ (cooperation) ทางการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นแนวทางที่ส...